อาการปวดหลังเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในพนักงานออฟฟิศทั่วโลก การนั่งทำงานในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังได้อย่างมาก จากการศึกษาที่เผยแพร่ใน International Journal of Environmental Research and Public Health ปี 2020 พบว่ากว่า 70% ของพนักงานออฟฟิศเคยมีอาการปวดหลังในระหว่างการทำงาน
ในบทความนี้หมอจะมาอธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้พนักงานออฟฟิศปวดหลัง และวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพตามหลักการแพทย์
ทำไมพนักงานออฟฟิศจึงปวดหลัง
การนั่งทำงานเป็นเวลานานโดยไม่มีการเคลื่อนไหวที่เพียงพอทำให้กระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อรอบ ๆ ถูกกดดันมากขึ้น สาเหตุหลัก ได้แก่:
- การจัดพื้นที่ทำงานที่ไม่เหมาะสม: เก้าอี้ที่ไม่มีพนักพิงรองรับ หรือจอคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระดับสายตาไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดการนั่งหลังค่อม
- การนั่งเป็นเวลานาน: การนั่งนาน ๆ อาจทำให้หมอนรองกระดูกถูกกดทับ ส่งผลให้เกิดความตึงและปวดตามมาได้
- กล้ามเนื้อแกนกลางที่อ่อนแรง: การขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทำให้กล้ามเนื้อแกนกลางอ่อนแอ ส่งผลให้กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกรับน้ำหนักมากขึ้น
- การเคลื่อนไหวในท่าเดิมซ้ำ ๆ: เช่น การพิมพ์หรือใช้เมาส์ซ้ำ ๆ ทำให้เกิดความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อ
ความเสี่ยงจากอาการปวดหลังที่ไม่ได้รับการรักษา
อาการปวดหลังเรื้อรังไม่เพียงแต่ทำให้รู้สึกไม่สบายตัวเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น:
- สมาธิและประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
- การเคลื่อนไหวและความยืดหยุ่นของร่างกายลดลง
- เพิ่มความเสี่ยงของปัญหาหมอนรองกระดูกหรือการเสื่อมสภาพของกระดูกสันหลัง
การรักษาอาการปวดหลังที่ได้ผล
ปัจจุบันมีเทคนิคการรักษาที่สามารถแก้ไขอาการปวดหลังจากต้นเหตุ ช่วยฟื้นฟูและป้องกันไม่ให้อาการกลับมาอีก:
Lifestyle modification (การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม)
การจัดท่านั่งในการทำงานที่เหมาะสม การเปลี่ยนท่าทางขณะทำงานเป็นประจำ การออกกำลังกายเพิ่มเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลาง
Dry Needling Therapy (การฝังเข็มตะวันออก)
เทคนิคการฝังเข็มตะวันออกนี้เน้นการคลายจุดกดเจ็บในกล้ามเนื้อ ช่วยลดความตึงและเพิ่มการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อได้อย่างรวดเร็ว มีงานวิจัยใน Pain Medicine ที่สนับสนุนประสิทธิภาพของวิธีนี้ในการลดอาการปวด
Focused Shockwave Therapy (คลื่นกระแทกความถี่สูงชนิดโฟกัส)
ใช้คลื่นกระแทกช่วยกระตุ้นการฟื้นฟูเนื้อเยื่อและลดอาการปวด มีงานวิจัยใน Journal of Orthopaedic Surgery and Research ที่ยืนยันถึงประสิทธิภาพในการลดปวดเรื้อรัง
Peripheral Magnetic Stimulation (PMS)
เครื่องกระตุ้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่จะช่วยกระตุ้นเนื้อเยื่อชั้นลึก เพิ่มการไหลเวียนโลหิตและการกระตุ้นการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อ ช่วยลดอาการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Lumbar traction
เครื่องดึงหลังจะลดแรงกระทำและเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อแกนกลางได้
Manual Therapy (กายภาพบำบัดด้วยมือ)
เป็นขั้นตอนการรักษาโดยนักกายภาพผ่านการ ยืด เหยียด เพื่อลดและบรรเทาอาการปวดตึงหลัง
เคล็ดลับป้องกันอาการปวดหลังในที่ทำงาน
นอกจากการรักษา การป้องกันก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน นี่คือเคล็ดลับที่ทำได้ง่าย ๆ:
- จัดโต๊ะทำงานให้เหมาะสม: ใช้เก้าอี้ที่มีที่พิงหลัง และปรับจอคอมพิวเตอร์ให้กลางจออยู่ในระดับสายตา
- พักเบรกบ่อย ๆ: ลุกขึ้นเดินหรือยืดเส้นยืดสายทุก 30 – 60 นาที
- ออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อแกนกลาง: เช่น การทำแพลงก์
- รักษาท่านั่งให้ดี: นั่งหลังตรง เอนไปด้านหลังเล็กน้อย ผ่อนคลายไหล่ และหลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง
อาการปวดหลังไม่จำเป็นต้องอยู่กับคุณตลอดไป ด้วยการดูแลที่เหมาะสมและวิธีฟื้นฟูที่มีประสิทธิภาพ คุณสามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างสบายและมีความสุขอีกครั้งติดต่อเราได้วันนี้ ที่ ฟรีเซีย รีแฮปคลินิก คลินิกฟื้นฟูและกายภาพบำบัด พระราม 3 เพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการของเราและนัดหมายการปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู