อาการปวดมือและข้อมือ หมายถึง อาการเจ็บปวดบริเวณมือและข้อมือ ซึ่งอาจเป็นอาการปวดแบบเฉียบพลัน หรือเรื้อรังก็ได้ อาการปวดบริเวณนี้อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การจับสิ่งของ การพิมพ์งาน การเขียนหนังสือ หรือการเล่นกีฬาได้
สาเหตุของอาการปวดมือและข้อมือ
- การบาดเจ็บ: เช่น เอ็นข้อมืออักเสบ (De Quervain’s tenosynovitis)
- การใช้งานซ้ำๆ: เช่น โรคพังผืดข้อมือกดทับเส้นประสาท (Carpal tunnel syndrome), นิ้วล๊อค (trigger finger)
- โรคข้อเสื่อม: เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนที่รองรับข้อต่อบริเวณมือและนิ้วมือ
- โรคอื่นๆ: เช่น โรครูมาตอยด์, โรคเกาต์, โรคเอสแอลอี
โรคในกลุ่มกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่พบบ่อยของอาการปวดมือและข้อมือ
- โรคพังผืดข้อมือกดทับเส้นประสาท (Carpal Tunnel Syndrome): เกิดจากการใช้งานข้อมือซ้ำๆ ทำให้พังผืดบริเวณข้อมือหนาตัวขึ้นเส้นประสาทบริเวณข้อมือถูกกดทับ ทำให้รู้สึกชาที่นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และครึ่งหนึ่งของนิ้วนาง
- โรคเอ็นข้อมืออักเสบ (De Quervain’s tenosynovitis): เป็นโรคเอ็นอักเสบที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บข้อมือทางฝั่งนิ้วหัวแม่มือ เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นและเส้นเอ็นบริเวณข้อมือทางฝั่งนิ้วหัวแม่มือ
- โรคนิ้วล๊อค (Trigger finger): เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นที่งอนิ้วมือบริเวณโคนนิ้ว ทำให้เวลาเหยียดนิ้วติดขัดหรือนิ้วขยับลำบาก
อาการที่บ่งบอกว่าคุณอาจมีปัญหาที่มือและข้อมือ
- ปวด: อาการปวดบริเวณข้อนิ้วมือ หรือ ข้อมือ
- บวม: บริเวณมือและข้อมืออาจบวม แดง และอุ่น
- อ่อนแรง: กล้ามเนื้อมืออ่อนแรง ลายมือเปลี่ยนแปลง เปิดขวดน้ำลำบาก
- ชา: รู้สึกชาหรือมึนที่นิ้ว
- เคลื่อนไหวข้อมือลำบาก: รู้สึกขัดหรือขยับข้อนิ้วมือและข้อมือได้ไม่ปกติ
การรักษาอาการปวดมือและข้อมือ
การรักษาอาการปวดมือและข้อมือขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ ในเบื้องต้นควรพักการใช้งาน หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ให้เจ็บมือและข้อมือ หากมีอาการปวดเฉียบพลัน บวม แดงร้อน แนะนำให้ประคบเย็นหรือแช่น้ำเย็น เพื่อลดอาการปวดและบวม ร่วมกับรับประทานยาแก้อักเสบหรือยาแก้ปวด หากปฏิบัติในเบื้องต้นแล้วอาการปวดมือและข้อมือไม่ดีขึ้น แนะนำให้มาปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจ ประเมินและรักษา แพทย์อาจแนะนำวิธีการรักษา ดังนี้
- การกายภาพบำบัด: การบำบัดด้วยมือ (manual therapy) เพื่อช่วยยืด กด คลายกล้ามเนื้อที่มีอาการตึงตัว การออกกำลังกายด้วยท่าทางที่ถูกต้อง เพื่อสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงเพียงพอสำหรับการใช้งาน และการยืดกล้ามเนื้อเพื่อให้กล้ามเนื้อที่ตึงตัวคลายลง
- การใช้เครื่องมือทางกายภาพ: เช่น เครื่องช๊อคเวฟ เพื่อกระตุ้นการซ่อมแซมและลดอาการปวดของเอ็นข้อมือและนิ้วมือ เครื่องเลเซอร์พลังงานสูง เพื่อกระตุ้นการทำงานระดับเซลล์ ลดการบวม ลดการอักเสบ ลดอาการปวด
- การฉีดยา: ฉีดยาเข้าบริเวณปลอกหุ้มเอ็น เพื่อลดอาการอักเสบ
- การผ่าตัด: ในกรณีที่อาการรุนแรงและไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่นๆ
หากคุณมีอาการปวดมือและข้อมือ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง การรักษาที่ถูกต้องจะช่วยบรรเทาอาการปวดและป้องกันไม่ให้อาการแย่ลง หากคุณมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูได้ที่ ฟรีเซีย รีแฮป คลินิก คลินิกฟื้นฟูและกายภาพบำบัด พระราม 3 ได้เลย ทางเรามีคุณหมอและเครื่องมือสำหรับการทำกายภาพเพื่อรักษาอาการปวดมือและข้อมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ