ปวดกล้ามเนื้อคืออะไร? อาการปวดกล้ามเนื้อ หมายถึง อาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นบริเวณกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจเป็นอาการปวดแบบเฉียบพลัน หรือเรื้อรังก็ได้ อาการปวดกล้ามเนื้ออาจเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อแขน หรือกล้ามเนื้อหลัง อาการปวดกล้ามเนื้ออาจส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวและการใช้ชีวิตประจำวันได้
สาเหตุของอาการปวดกล้ามเนื้อ
- การออกกำลังกายหนัก: การออกกำลังกายที่หนักเกินไปหรือการออกกำลังกายแบบที่ร่างกายยังไม่คุ้นเคย อาจทำให้กล้ามเนื้ออักเสบและมีอาการปวด
- การบาดเจ็บ: การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ การเล่นกีฬา หรือการยกของหนัก อาจทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาดหรือเส้นเอ็นอักเสบ
- การใช้งานกล้ามเนื้อซ้ำๆ: การทำงานที่ต้องใช้กล้ามเนื้อซ้ำๆ ในท่าเดิมๆ เป็นเวลานาน เช่น การนั่งนานๆ หรือ ยืนในท่าเดิมนานๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อได้เช่นกัน
- การขาดสารอาหาร: การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น แมกนีเซียม หรือโพแทสเซียม อาจทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อได้
- ผลข้างเคียงของยา: ยาบางชนิด เช่น ยาลดไขมันในเลือด หรือยาคุมกำเนิด อาจมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ
อาการที่บ่งบอกว่าคุณอาจมีปัญหาที่กล้ามเนื้อ
- ปวด: อาการปวดหน่วงๆ ปวดหนักๆ ของกล้ามเนื้อตามจุดต่างๆ
- บวม: บริเวณกล้ามเนื้อที่ปวดอาจบวม
- เคลื่อนไหวลำบาก: กล้ามเนื้อที่ปวดอาจทำให้เคลื่อนไหวไม่สามารถใช้ร่างกายส่วนนั้นได้หรืออ่อนแรง
การรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ
การรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ ในเบื้องต้นควรพักการใช้งาน หากปวดเฉียบพลันสามารถประคบเย็นและรับประทานยาแก้อักเสบเพื่อลดอาการปวดและบวม หากปฏิบัติในเบื้องต้นแล้วอาการปวดกล้ามเนื้อไม่ดีขึ้น แนะนำให้มาปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจ ประเมินและรักษา แพทย์อาจแนะนำวิธีการรักษา ดังนี้
- การกายภาพบำบัด: การบำบัดด้วยมือ (manual therapy) เพื่อช่วยยืด กด คลายกล้ามเนื้อที่มีอาการตึงตัว การออกกำลังกายด้วยท่าทางที่ถูกต้อง เพื่อสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงเพียงพอสำหรับการใช้งาน และการยืดกล้ามเนื้อเพื่อให้กล้ามเนื้อที่ตึงตัวคลายลง
- การใช้เครื่องมือทางกายภาพ: เช่น เครื่องกระตุ้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อลดอาการปวด คลายกล้ามเนื้อ เครื่องช๊อคเวฟ เพื่อกระตุ้นการซ่อมแซมและลดอาการปวดของกล้ามเนื้อ เครื่องเลเซอร์พลังงานสูง เพื่อกระตุ้นการทำงานระดับเซลล์ ลดการบวม ลดการอักเสบ ลดอาการปวด
การป้องกันอาการปวดกล้ามเนื้อ
- วอร์มร่างกายก่อนออกกำลังกาย: ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
- เลือกชนิดของกีฬาที่เหมาะสม: หลีกเลี่ยงกีฬาที่ก่อให้เกิดแรงกระแทกต่อกล้ามเนื้อมากเกินไป
- พักผ่อนให้เพียงพอ: หลีกเลี่ยงการใช้งานกล้ามเนื้อซ้ำๆ เป็นเวลานาน
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์: รับประทานอาหารที่มีโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุครบถ้วน
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ: การดื่มน้ำช่วยให้ร่างกายทำงานได้ดีขึ้น
หากคุณมีอาการปวดกล้ามเนื้อ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง การรักษาที่ถูกต้องจะช่วยบรรเทาอาการปวดและป้องกันไม่ให้อาการแย่ลง หากคุณมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูได้ที่ ฟรีเซีย รีแฮป คลินิก คลินิกฟื้นฟูและกายภาพบำบัด พระราม 3 ได้เลย ทางเรามีคุณหมอและเครื่องมือสำหรับการทำกายภาพเพื่อรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ