อาการปวดคอบ่าไหล่ เป็นปัญหาที่พบบ่อยในคนทุกเพศทุกวัย มักเกิดจากกล้ามเนื้อตึง เกร็ง อักเสบ การใช้งานที่ผิดท่าทาง หรือจากกระดูกต้นคอและหมอนรองกระดูกเสื่อม ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน และการนอนหลับพักผ่อน บทความนี้จะพาทุกท่านไปเจาะลึกถึงสาเหตุ กลไก และแนวทางการรักษาอาการปวดคอบ่าไหล่ พร้อมทั้งวิธีการป้องกันและดูแลตัวเอง เพื่อให้ห่างไกลจากปัญหาสุขภาพที่สร้างความรำคาญใจนี้
ปวดคอบ่าไหล่ สาเหตุที่พบได้บ่อยเกิดจาก:
- ท่าทางที่ไม่ดี ออฟฟิศซินโดรม: การนั่งทำงานนานๆ ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม ซึ่งการที่ร่างกายของเราอยู่ในอิริยาบถเดิมๆ อาจจะทำอาการปวดเกิดขึ้นได้
- การใช้งานกล้ามเนื้อคอบ่าไหล่หนักๆ ซ้ำๆ: เช่น การยกของหนัก การเล่นกีฬา การโยกศีรษะเป็นประจำ โดยการใช้กล้ามเนื้อคอบ่าไหล่หนักๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเล่นกีฬา หรือ การยกของหนัก อาจจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดอาการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อาการไหล่ติด หรือสะบักจมได้
- ความเครียด: ความเครียดจะกระตุ้นให้เกิดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้มีอาการปวดคอบ่าไหล่ได้
- การบาดเจ็บของคอและไหล่: จากอุบัติเหตุ หรือ ตกจากที่สูง
- หมอนรองกระดูกคอเสื่อม: อาการปวดอาจรุนแรง มีร้าวไปที่แขนได้
การรักษาอาการปวดคอบ่าไหล่
แน่นอนว่าอาการปวดคอบ่าไหล่ หากไม่ได้รับการแก้ไข อาจจะทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง ซึ่งอาการปวดคอบ่าไหล่นั้นเกิดขึ้นได้ในหลายกรณี บางรายอาจจะมีอาการปวดเบื้องต้น บางหลายอาจจะมีอาการไหล่ติด สะบักจม ซึ่งบางรายอาจจะมีอาการปวดร้าวลงแขนได้ ดังนั้นการรักษาอาการปวดคอบ่าไหล่ จึงมีวิธีการรักษาที่หลากหลาย โดยขึ้นอยู่กับสาเหตุ ดังนี้
วิธีลดอาการปวด คอ บ่า ไหล่ เบื้องต้น:
- ประคบเย็น หากมีอาการปวด บวม แดง ร้อน อักเสบเฉียบพลัน
- ประคบร้อน หากมีอาการปวดเมื่อยคอบ่าไหล่เรื้อรัง ปวดตึงกล้ามเนื้อ จะช่วยให้คลายอาการตึงได้ดีขึ้น
- ยาแก้ปวด เช่น ยาแก้อักเสบกลุ่ม NSAIDs (เช่น ไอบูโพรเฟน)
- ยาคลายกล้ามเนื้อ
- การนวดคลายเส้น
- การยืดกล้ามเนื้อ
- ปรับท่าทางการทำงานให้เหมาะสม
- พักผ่อนให้เพียงพอ
การรักษาด้วยวิธีต่างๆ
หากลดอาการปวดด้วยตนเองในเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้นแนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจประเมิน หาสาเหตุและรักษาด้วยวิธีการต่างๆ เช่น
- การกายภาพบำบัด: การบำบัดด้วยมือ (manual therapy) เพื่อช่วยยืด กด คลายกล้ามเนื้อที่มีอาการตึงตัว การออกกำลังกายด้วยท่าทางที่ถูกต้อง เพื่อสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงเพียงพอสำหรับการใช้งาน และการยืดกล้ามเนื้อเพื่อให้กล้ามเนื้อที่ตึงตัวคลายลง
- การใช้เครื่องมือทางกายภาพ: เช่น เครื่องช๊อคเวฟ เพื่อกระตุ้นการซ่อมแซม ลดอาการปวด เครื่องเลเซอร์พลังงานสูง เพื่อกระตุ้นการทำงานระดับเซลล์ ลดการอักเสบ ลดปวด เครื่องดึงคอ เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ หมอนรองกระดูกและข้อต่อแกนกลาง ลดการกดเบียดเส้นประสาท เครื่องกระตุ้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อลดอาการปวดและคลายกล้ามเนื้อ
- การฝังเข็มแบบตะวันตก (Dry needling): เป็นการรักษาโดยการใช้เข็มเขี่ยบริเวณปมกล้ามเนื้อที่มีการตีงตัวให้คลายออก
- การรับประทานยา: ยาแก้ปวด คลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวดปลายประสาท
แนวทางป้องกัน
แน่นอนว่าการรักษา การกายภาพคอบ่าไหล่ หรือการฝังเข็มจะช่วยรักษา บรรเทาอาการปวดได้ แต่ถ้าเรายังใช้ชีวิตแบบเดิม หรือ ทำกิจกรรมเดิมที่เป็นจุดกำเนิดของอาการปวดคอบ่าไหล่ อาจทำให้อาการปวดและการบาดเจ็บจะยังเกิดขึ้นซ้ำได้ ดังนั้นเราจึงขอแนะนำแนวทางการป้องกัน เพื่อให้ลดความเสี่ยงการกลับมาปวดคอบ่าไหล่อีก
- ปรับท่าทางการทำงานให้เหมาะสม
- ลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
- จัดท่านอนให้นอนสบาย
- บริหารกล้ามเนื้อคอบ่าไหล่เป็นประจำ
อาการปวดคอบ่าไหล่ สามารถรักษาได้ หากพบอาการผิดปกติ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจทำให้เรื้อรัง รักษาได้ยากขึ้น สามารถมาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูได้ที่ ฟรีเซีย รีแฮป คลินิก คลินิกฟื้นฟูและกายภาพบำบัด พระราม 3 ได้เลย ทางเรามีคุณหมอและเครื่องมือสำหรับการทำกายภาพเพื่อรักษาอาการปวดคอบ่าไหล่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ