ช๊อคเวฟ (Shock wave therapy) หรือ คลื่นกระแทกเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ในการรักษาอาการปวดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ สามารถเห็นผลการรักษาได้รวดเร็ว ใช้เวลาในการรักษาแต่ละครั้งไม่นาน และปลอดภัยในการรักษา ช๊อคเวฟคืออะไรกันแน่ วันนี้หมอจะพามารู้จักกับช๊อคเวฟให้มากขึ้นกันค่ะ

การรักษาด้วยช๊อคเวฟคืออะไร ?

ช๊อคเวฟมีชื่อเต็มที่เรียกว่า Extracorporeal shock wave therapy (ESWT) เป็นเทคโนโลยีที่ให้หลักกลไกทางฟิสิกส์ก่อกำเนิดคลื่นกระแทกพลังงานสูง ตรงเข้าไปสู่เนื้อเยื่อภายในร่างกาย เพื่อไปกระตุ้นกระบวนการซ่อมแซม กระตุ้นการเกิด Growth factor และกระตุ้นการสร้างหลอดเลือดใหม่ เพื่อให้เนื้อเยื่อที่มีการอักเสบเรื้อรัง หรือ บาดเจ็บ เกิดกระบวนการซ่อมแซมตนเองได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของการทำช๊อคเวฟ

  1. กระตุ้นให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่ : ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณที่บาดเจ็บมีเลือดไปเลี้ยงมากขึ้น และมีออกซิเจนไปมากขึ้น กระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเนื้อเยื่อได้ดีขึ้น
  2. แก้ไขกระบวนการอักเสบเรื้อรัง : โดยกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการอักเสบ เพื่อกระตุ้นการทำงานของ mast cell ทำให้เกิดกระบวนการซ่อมแซมการบาดเจ็บได้ดีขึ้น
  3. คลายจุดเจ็บของกล้ามเนื้อ (Release trigger point)
  4. สลายหินปูน : ที่เกิดจากการบาดเจ็บของเส้นเอ็น
  5. ลดอาการปวด : ลดปริมาณของ substance P ที่เป็นสารสื่อประสาททำให้เกิดอาการปวด 

ประเภทของช๊อคเวฟ

ประเภทของช๊อคเวฟ มี 2 ประเภท ดังนี้ค่ะ 

  1. Focused shock wave (fESWT) แหล่งกำเนิดของพลังงานจะเกิดมาได้จากพลังงานไฟฟ้าอาทิเช่น Electromagnetic, Electrohydraulic หรือ Piezoelectric ขึ้นอยู่ผู้ผลิตเครื่องในแต่ละยี่ห้อ ซึ่งโฟกัสช๊อคเวฟ จะทำให้เกิดคลื่นพลังงานสูงเข้าตรงสู่เนื่อเยื่อภายในได้ลึกและแรงกว่า radial shock wave ค่ะ
    เหมาะกับผู้ที่มีอาการตึงของกล้ามเนื้อ หรือมีการบาดเจ็บของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อทั้งในระดับตื้นและลึก
  2. Radial shock wave (rESWT) แหล่งกำเนิดพลังงานจะเกิดมาจากการใช้แรงลมอัดภายในตัวเครื่อง (Pneumatic  ออกมายังหัวปืน เพื่อกระแทกไปยังบริเวณผิวที่สัมผัสกับหัวปืนค่ะ ทำให้แรงกระแทกจะมากสุดที่ผิว และพลังงานของคลื่นกระแทกจะลดลงเมื่อลงลึกเข้าไปข้างในค่ะ เหมาะกับผู้ที่มีปวดเส้นเอ็นหรือตึงตัวของกล้ามเนื้อในระดับตื้นค่ะ

การรักษาด้วยช๊อคเวฟ เหมาะกับใครบ้าง

  • เอ็นหัวไหล่อักเสบ (Rotator cuff syndrome)
  • เอ็นข้อศอกอักเสบ (Golfer elbow, tennis elbow)
  • เอ็นข้อเข่าอักเสบ (patellar tendonitis)
  • เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles tendinitis)
  • ผังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ รองช้ำ (Plantar fasciitis)
  • ปวดกล้ามเนื้อและผังผืด (Myofascial pain syndrome, Office syndrome)
  • การบาดเจ็บจากกีฬา (stress fracture, shin splint, sport injury)
  • ผู้มีอาการปวดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อ 

การรักษาด้วยเครื่องคลื่นกระแทกเป็นการรักษาที่ปลอดภัยและโอกาสเกิดผลข้างเคียงได้น้อย แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องการแข็งตัวของเลือดหรือใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด สตรีมีครรภ์ ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดอุดตัน ผู้ป่วยโรคมะเร็ง และผู้ที่มีอาการปลายประสาทอักเสบ หมอแนะนำให้มาปรึกษาแพทย์ก่อนที่รับการรักษาด้วยเครื่องคลื่นกระแทกเพื่อประเมินถึงความเสี่ยงและความเหมาะสมในการรักษาค่ะ

หากใครมีอาการปวดกล้ามเนื้อและเอ็น ต้องการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูหรือสนใจการรักษาด้วยเครื่องคลื่นกระแทก สามารถเข้ามาปรึกษาหมอได้ที่ ฟรีเซีย รีแฮป คลินิก คลินิกฟื้นฟูและกายภาพบำบัด พระราม 3 ได้เลยค่ะ

Similar Posts